วัฒนธรรม
บรูไนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมาเลเซีย และอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก มีวัฒนธรรม ภาษา การแต่งกายและการดำรงชีวิตที่คล้ายกัน วัฒนธรรมส่วนใหญ่ได้อิทธิพลมาจากศาสนาอิสลามเป็นหลัก เช่น สตรีชาวบรูไนจะแต่งตัวมิดชิด และจะไม่ยื่นมือให้ผู้ชายจับมือทักทาย เป็นต้น
 |
ชุดประจำชาติ
หญิง : สวมเสื้อคลุมยาว ที่เรียกว่า "บาจูกูรง" ใส่กระโปรงมิดชิด และสวม "ฮิญาบ" ผ้าคลุมศีรษะสำหรับหญิงอิสลาม
ชาย : สวมเสื้อแขนยาว คอปิด กางเกงขายาว มีผ้าพันรอบเอว และสวมหมวก หรือมีผ้าพันศีรษะ |
 |
อาหารประจำชาติ
อัมบูยัติ (Ambuyat) : มีลักษณะคล้ายโจ๊กแต่ข้นกว่า มีส่วนผสมหลักคือแป้งสาคู รับประทานแทนข้าวคู่กับซ๊อสเปรี้ยว และเครื่องเคียง เช่น ปลาทอด เนื้อทอด และผักจิ้ม |
 |
ดอกไม้ประจำชาติ :ดอกซิมปอร์ (Simpor) |
สตรีชาวบรูไนจะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว เสื้อแขนยาว และมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติ จึงไม่ ควรนุ่งกระโปรงสั้น และใส่เสื้อไม่มีแขน ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ ยื่นมือให้บุรุษจับ การชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่ จะใช้หัวแม่มือชี้แทน และจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชาย และไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ภาษาราชการของบรูไนคือภาษามาเลย์ ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวบรูไนใช้กัน มากเนื่องจากชาวบรูไนร้อยละ 66 มีเชื้อสายมาเลย์ อย่างไรก็ตาม ชาวบรูไนส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษ ได้ และสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อธุรกิจได้เช่นกัน รวมไปถึงภาษาจีน ซึงเป็นภาษาที่มีการใช้กันมาก เนื่องจากมีชาวบรูไนเชื้อสายจีนอยู่ถึงร้อยละ 11 การเรียนรู้ภาษามาเลย์จะช่วยสร้างความประทับใจให้คู่เจรจา ชาวบรูไนได้
การรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน โดยเฉพาะคู่เจรจาที่เป็นชาวมุสลิมควรระมัดระวังการสั่ง อาหารที่เป็นเนื้อหมูและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากผิดหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม และอาจขอให้คู่ เจรจาชาวบรูไนช่วยเลือกร้านอาหาร ทั้งนี้บรูไนไม่มีวัฒนธรรมการให้ทิปในร้านอาหาร ในกรณีที่เป็นร้านอาหารขนาดใหญ่จะมีการเก็บค่าบริการเพิ่มร้อยละ 10 อยู่แล้ว
ภูมิประเทศ
บรูไนมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 64% ของพื้นที่ประเทศไทย) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนติดกับมาเลเซียทั้งหมด ยกเว้นทางด้านทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้
บรูไนประกอบด้วย 2 ส่วนที่ไม่ติดกันคือด้านตะวันตกและตะวันออกโดยที่ประชากรร้อยละ 97 อาศัยอยู่ในส่วนด้านตะวันตก และมีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คนที่อาศัยอยู่ในด้านตะวันออก ซึ่งมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของเขตเตมบูรง เมืองหลัก ๆ ของบรูไนคือเมืองหลวงบันดาร์เสรีเบกาวัน เมืองท่ามูอารา และเซรีอา
แม้จะเป็นดินแดนเล็กๆแต่ก็ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย เนื่องจากมีทรัพยากรน้ำมันอยู่มาก
ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบ
หุบเขาซึ่งเป็นดินตะกอนที่แม่น้ำพัดมาทับถม บริเวณที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเข้าไปภายในเกาะ ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา ดินแดนทางภาคตะวันออกมีลักษณะขรุขระและสูงกว่าตะวันตก
ลักษณะภูมิอากาศ
ในประเทศบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกเกือบตลอดปี อุณหภูมิประมาณ 24 -32 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เขตร้อน อุดมด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
เศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากน้ำมัน ประมาณ 48% และก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 43% นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย คือประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน และผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum Brunei) ซึ่งจัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ โดยมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งด้วยการนำรายได้จากน้ำมันไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่าน Brunei Investment Agency (BIA) ในรูปการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม โดยส่วนใหญ่อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา
เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของบรูไน คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ส่งออกถึงร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด) ทำให้บรูไนมีดุลการค้าเกินดุลมาโดยตลอด สินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐ ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลี ตามลำดับ ในขณะที่สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ และมาเลเซีย โดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและผลไม้
บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง ได้แก่ การผลิตอาหาร เครื่องมือ และเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังประเทศในยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไนมุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้าและสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ กระจกรถยนต์ เป็นต้น แต่ยังคงประสบอุปสรรคด้านการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะช่างฝีมือ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : อาเซียน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
สกุลเงิน : ดอลลาร์บรูไน ตัวย่อ BND
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์บรูไน = 23.09 บาท
(ข้อมูล พฤษภาคม ปี 2556) : 1.24 ดอลลาร์บรูไน = 1 ดอลลาร์สหรัฐ
จุดแข็ง
: ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และ อันดับ 26 ของโลก
: การเมืองค่อนข้างมั่นคง
: เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน
จุดอ่อน
:
ตลาดภายในค่อนข้างเล็ก เนื่องจากมีประชากรแค่สี่แสนกว่าคนเท่านั้น
: ขาดแคลนแรงงาน
การปกครอง
บรูไนได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 หลังจากอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมานานถึง 95 ปี ปัจจุบันปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พระมหากษัตริย์ของบรูไนจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ สำหรับพรรคการเมืองจะถูกจำกัดบทบาทอย่างมาก ไม่มีการเลือกตั้งภายในประเทศ โดยสมเด็จพระราชาธิบดี สืบทอดตามตระกูล
บรูไนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขต คือ บรูไน-มูอารา, เบเลต, ตูตง และเตมบูรง
ประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Muizzaddin Waddaulah) สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
นโยบายหลักของประเทศ ได้แก่ การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ บรูไนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ แม้ว่าจะถูกโอบล้อมโดยมาเลเซียและอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่ทางตอนใต้ เนื่องจากมีสถานะที่คล้ายคลึงกันกับสิงคโปร์หลายประการ เช่น การเป็นประเทศขนาดเล็ก และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่
นับจากการพยายามยึดอำนาจเมื่อปี 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึก ยังผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ถูกจำกัดลงอย่างมาก จนปัจจุบัน พรรคการเมือง Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei (PPKB) และ Parti Kesedaran Rakyat (PAKAR) ไม่มีบทบาททางการเมืองมากนัก เนื่องจากถูกรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่างๆ เช่น กฎหมาย Internal Security Act (ISA) ซึ่งห้ามชุมนุมทางการเมือง และอาจถูกถอดถอนจากการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ ซึ่งมีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลยังเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีพรรคการเมือง เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสุลต่านได้อยู่แล้ว
การท่องเที่ยว
มัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน (Sultan Omar Ali Saifuddin Mosque)

เป็นมัสยิดเก่าแก่ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นมัสยิดที่สวยงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่อเรียกเป็น มินิทัชมาฮาล ตั้งอยู่ใจ กลางกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบอิสลามิกอาร์ต และใช้วัสดุชั้นเลิศจากหลายประเทศ ยอดโดมหุ้มด้วย แผ่นทองคำ 3.3 ล้านแผ่น ด้านหน้ามัสยิดจะมีเรือหลวงที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาลอยอยู่ด้วย
พระราชวังอิสนาตานา นูรัล อีมาน (Istana Narul Iman Palace)

เป็นที่ประทับขององค์สุลต่านและพระราชวงศ์ และเป็นทำเนียบรัฐบาลด้วย พระราชวังแห่งนี้ถือเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างบนพื้นที่ 300 เอเคอร์ มีห้องต่างๆ 1,788 ห้อง มีห้องจัดเลี้ยงที่รองรับแขกได้กว่า 5,000 คน และมีโรงจอดรถที่จอดได้ กว่า 350 คัน
ใช้สำหรับต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างแดน ตั้งอยู่ในกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพระราชวังที่ (กินเนสส์บุ๊กเวิลด์เรคคอร์ด) มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตถยกรรมที่โดดเด่นทั้งภายในและภานนอก มีพื้นที่ 19,400 ตารางเมตร หลังคาโดมทรงกลมสีทอง มองดูคล้ายกับมัสยิดในศาสนาอิสลาม เปิดให้เข้าชมหลังผ่านช่วงเราะมะฎอนไปแล้ว
กัมปงไอเยอร์ (Kampong Ayer)
หมู่บ้านกลางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในแถวอาเซียน สามารถเดินทางไปทางเรือโดยสาร เป็นชุมชนที่บ้านเรือนและทางเดินเชื่อมต่อกันด้วยไม้ ภายในพื้นที่มัสยิด โรงเรียนและสถานพยาบาล มีอำนาจบริหารเป็นเอกเทศ ถือได้ว่าสะท้อนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของมนุษย์กับสายน้ำได้อย่างชัดเจน
อุทยานแห่งชาติอูลู เต็มบูรง (Ulu Temburong National Park)
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อยู่ทางใต้ของเขตบูรง มีลักษณะเป็นป่าดิบชื้นขนาดใหญ่ สามารถพบพันธุ์ไม้และสัตว์หายากหลากชนิด เช่น ลิงจมูกยาว หรือผีเสื้อราชาบรูก ได้เพียงที่นี่ที่เดียวบนเกาะบอร์เนียว เหมาะสำหรับศึกษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
ความร่วมมือในกลุ่มประเทศสมาชิก
เมื่อพิจารณาในด้านผลประโยชน์ที่อาเซียนจะได้รับจากบรูไน จะพบว่าอาเซียนได้ผลประโยชน์จากความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ได้จากทรัพยากรน้ำมันของบรูไนตามสมควร โดยในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย (2540) บรูไนได้เข้ามาช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในอาเซียน โดยได้ให้ความช่วยเหลือการแทรกแซงตลาดการเงินภายในภูมิภาคด้วยการระดมทุนจากภายนอกประเทศ ในการซื้อเงินสกุลริงกิตมาเลเซียและเหรียญสิงคโปร์ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาค รวมถึงได้แสดงเจตจำนงที่จะมุ่งเน้นนโยบายการลงทุนสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น และยังได้ให้การช่วยเหลือประเทศอินโดนีเซีย และไทยในลักษณะการให้กู้ยืมเงินเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ความพยายามในการช่วยเหลือประเทศในกลุ่มอาเซียนดังกล่าว ได้เพิ่มบทบาทของบรูไนในอาเซียนมากขึ้น และเป็นการสร้างหลักประกันความมั่งคงให้กับบรูไนอีกทาง
เนื่องจากบรูไนเป็นประเทศเล็ก ศักยภาพทางการเมืองและอำนาจต่อรองทางการเมืองไม่สูง ดังนั้น บรูไนจึงมีความพยายามในการเสริมสร้างผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจและความมั่งคงระหว่างประเทศ และมุ่งเน้นความเป็นภูมิภาคนิยมมากขึ้น จากเดิมที่มักให้ความสำคัญกับชาติตะวันตกอย่างอังกฤษเจ้าอาณานิคม
สำหรับด้านการเมือง การที่อาเซียนมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเท่ากับเพิ่มน้ำเสียงของอาเซียนในเวทีการเมืองระหว่างประเทศให้หนักแน่นขึ้น ยิ่งกว่านั้น นอกจากบรูไนจะเป็นประเทศที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจด้วยทรัพยากรน้ำมันแล้ว บรูไนยังเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ อาทิ กลุ่มประเทศเครือจักรภพและองค์การที่ประชุมอิสลาม เป็นต้น จึงมีช่องทางที่จะโน้มน้าวให้ประเทศสมาชิกองค์การต่างๆ เหล่านี้คล้อยตามอาเซียนได้ไม่ยากนัก ดังนั้น การสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของบรูไนจึงเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ทั้งบรูไนและอาเซียน
ในด้านบทบาทการเป็นประธานอาเซียน ประเทศบรูไนได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544 ที่เมืองบันดาร์ เสรี เบกาวัน โดยผู้นำบรูไนได้ประนามการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ พร้อมได้ร่วมลงนามในปฏิญญาการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนว่าด้วยการป้องกันการก่อการร้ายร่วมกัน โดยเป็นความร่วมมือทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และระหว่างประเทศ เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายอย่างรอบด้าน และเพื่อที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ปลอดจากภัยคุกคาม ความร่วมมือนี้ได้จะนำมาซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคง ถือเป็นปัจจัยต่อการพัฒนา และความมั่งคั่งยิ่งขึ้นในอาเซียน