วัฒนธรรม
ประชากรอินโดนีเซียประกอบด้วยหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธ์ุ และจากการที่สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ของประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะแยกกันเป็นหมู่เกาะมากมาย และมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประชากร ติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง
การแบ่งกลุ่มชนสามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
กลุ่มแรก เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในเกาะชวา และบาหลี ผู้คนที่อยู่ ในแถบนี้จะยึดมั่นอยู่ในแนวทางของศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม เน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจและสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปะอย่าง มากมาย โดยเฉพาะนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประชากรจะประพฤติตามหลักจริยธรรมมีการเคารพต่อบุคคลตามฐานะของ บุคคลนั้นๆ
กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของเกาะ ต่างๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีวิตทางวัฒนธรรมตาม หลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจของสังคมอินโดนีเซีย ยุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทางศาสนา และกฎหมาย
กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมาก อาศัยอยู่ตามบริเวณเทือก เขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และการเพาะปลูก รัฐบาลอินโดนีเซียได้เข้าไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชนกลุ่มนี้แล้ว
ในประเทศอินโดนีเซีย มีการกำหนดกฎหมายประเพณีในสังคมตามความเชื่อในศาสนา ซึ่งจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และสืบทอดกันมานานแล้ว มีสาระที่สำคัญคือ ความผูกพันระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และพลเมืองต่อสังคมที่ตนอยู่
วัฒนธรรมประเพณีของชาวอินโดนีเซีย แตกต่างไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของประชากรใน แต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น
วายัง กูลิต (Wayang Kulit) :
เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการ แสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายชนิดไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ นิยมใช้วงดนตรี พื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
ระบำบารอง (Barong Dance) :
ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เป็นเรื่องราวของการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ยความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
 |
ชุดประจำชาติ
หญิง : สวมเสื้อ "คะบาย่า" เสื้อแขนยาว คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับผ้าโสร่งที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรยกว่า "ปาเต๊ะ" หรือ "บาติก" โดยมีผ้าคล้องคอยาว และสวมรองเท้าแตะหรือส้นสูงแบบสากล
ชาย : สวมเสื้อคอปิด สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่งสีและลงดลายเข้ากับหมวกสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าหุ้มส้น หากเข้าพิธีสำคัญ จะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเกาะ |
 |
อาหารประจำชาติ
กาโด กาโด (Gado Gado) : เป็นอาหารที่ประกอบด้วย ผักและธัญพืช ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ไข่ต้ม ข้าวเกรียบกุ้ง รบประทานคู่กับซ๊อสถั่วคล้ายกับซ๊อสสะเต๊ะ (คล้ายกับสลัดแขกของไทย) |
 |
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) |
ภูมิประเทศ
อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ 5,070,606 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่าประเทศไทย 90%) แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 1,904,443 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ : ติดกับทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิก
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ : ติดกับมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก : ติดกับติมอร์-เลสเต และปาปัวนิวกินี
ทิศใต้ : ติดกับทะเลติมอร์
อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ 17,508 เกาะ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
2. หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วย เกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา ได้แก่ เกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
3. หมู่เกาะมาลุกุ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาี
4. อิเรียนจายา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
ในบรรดาหมู่เกาะทั้งหมด มีเกาะขนาดใหญ่ 5 เกาะ ครอบคลุม พื้นที่ประมาณร้อยละ 90 ของประเทศ คือ
1. กะลิมันตัน มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมด และ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของเกาะบอร์เนียว
2. สุมาตรา มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ทั้งหมด
3. ปาปัว มีพื้นที่คิดเป็น ร้อยละ 22 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุม พื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี
4. สุลาเวสี มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
5. ชวา และมาดูรา ครอบคลุมพื้นที่เพียงร้อยละ 7 ของพื้นที่ ทั้งหมด แต่มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 64 ของทั้งประเทศ
อินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทร แปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพาน เชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมัน จากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจ
ถึงแม้อินโดนีเซียจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน แต่เนื่องจากจำนวนประชากรที่มาก (อันดับ 4 ของโลก) ส่งผลให้รายได้ ประชาชาติต่อหัวของอินโดนีเซียค่อนข้างต่ำ อินโดนีเซียจึงยังถูกจัดให้อยู่ในสถานะของประเทศกำลังพัฒนา
แม้ว่าหลังจากปี 2540 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะสามารถเจริญเติบโตได้ อย่างน่าพอใจและมีเสถียรภาพ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยธรรมชาติ (สืนามิ ปี 2547) หรือ ภัยจากการก่อการร้าย (เกาะบาหลี ปี 2545 และ 2548) นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ลดลง
หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศแบบผูกขาดจาก อดีตประธานาธิบดี ซูฮาโต ประเทศอินโดนีเซียได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ภายในประเทศของตนในทุกๆ ด้า้น เพื่อสร้า้งความเจริญเติบโตให้เกิดขึ้นภายใน ประเทศและลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประชาชน นอกจากนี้แล้วยังได้ ปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศอย่า่งต่อ เนื่องอีกด้วย เพื่อรองรับต่อการ พัฒนาของประเทศ และเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาค นโยบายด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ มุ่งเน้นการขยายตัวของการ บริโภคในประเทศ (Consumption) และการลงทุน (Investment) เป็น ปัจจัยหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโต
เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันมากมาย ในอดีตที่ผ่านมาเศรษฐกิจหลัก จึงพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่หลังจากเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันโลก อินโดนีเซียจึงได้พัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆขึ้นมาด้วย อาทิเช่น อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ประกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากน้ำมันที่ทำรายได้ให้ประเทศมากที่สุดแล้ว อินโดนีเซียยังมีทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆที่อุดมสมบูรณ์มากมาย โดยเป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นยังมีการทำการเกษตรปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาติ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : EU ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์
สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah) ตัวย่อ IDR
อัตราแลกเปลี่ยน : 327 รูเปียห์ = 1 บาท
(ข้อมูล พฤษภาคม ปี 2556): 9,735 รูเปียห์ = 1 ดอลลาร์สหรัฐ
จุดแข็ง
: มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
: มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในอาเซียน
: มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
: มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ
จุดอ่อน
: ที่ตั้งเป็นเกาะ และกระจายตัว
: สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
การปกครอง
อินโดนีเซียปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยมีพื้นที่บางส่วนที่มีลักษณะปกครองตนเอง (Provincial Autonomy)
โครงสร้างการเมืองการปกครองของอินโดนีเซียประกอบด้วย 7 องค์กร ได้แก่
1. สภาที่ปรึกษาประชาชน (Peoples Consultative Assembly : MPR) ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (Peoples Representative Council : DPR) จำนวน 550 คน และสภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representative Council : DPD) จำนวน 128 คน ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง สภาที่ปรึกษาประชาชน มีหน้าที่สำคัญ 3 ประการคือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่งตั้ง ประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดีและถอดถอนประธานาธิบดี
2. สภาผู้แทนราษฎร (House of Peoples Representatives : DPR) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 550 คน มาจากการเลือกตั้ง มีหน้า้ที่หลัก ในการออกกฎหมาย อนุมัติงบประมาณ และกำกับดูแลการทำงานของรัฐบาล มีวาระการทำงาน 5 ปี อย่างไรก็ตาม การพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับ ต้องมีการหารือและได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง DPR กับประธานาธิบดี ร่างกฎหมายใดที่ไม่ได้รับความเห็นชอบร่วมจากประธานาธิบดี จะไม่สามารถ นำกลับมาพิจารณาใหม่ได้อีก ขณะเดียวกันร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบ ร่วมจากประธานาธิบดี และผ่านการลงคะแนนเสียงจาก DPR แล้ว แต่ ประธานาธิบดีไม่ลงนามด้วยเหตุใดก็ตาม ภายใน 30 วันให้ถือว่ามีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมายได้โดยสมบูรณ์
3. สภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representatives Council : DPD) เป็นสถาบันใหม่ที่มีการเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 เพื่อทดแทนผู้แทนจากภูมิภาคและองค์กรสังคม/กลุ่มอาชีพที่เคยมีอยู่เดิม (ที่มาจากการแต่งตั้ง) ทั้งนี้ สมาชิก DPD มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 128 คน มีหน้า้ที่เสนอแนะร่างกฎหมาย รวมถึงตรวจสอบการใช้จ่า่ย งบประมาณของประเทศ
4. สภาประชาชนระดับท้องถิ่น (Regional Peoples House of Representatives : DPRD) ตามบทบัญญัติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2543 กำหนดให้แบ่งระดับการปกครองภูมิภาคออกเป็นจังหวัด อำเภอ (Regency) และตำบล/เทศบาล (Kota) โดยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิก DPRD ในทุกระดับ (พร้อมกับการเลือกตั้ง DPR และ DPD)
5. ประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงตามรัฐธรรมนูญระบุ ให้ประธานาธิบดีเป็น หัวหน้ารัฐบาลและเป็น ผู้บัญชาการกองทัพ โดยประธานาธิบดี อยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย (สมัยละ 5 ปี) สำหรับประธานาธิบดี คนปัจจุบัน คือ นาย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
6. ศาลยุติธรรม รัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้ การดูแลของศาลฎีกา และศาลระดับรองๆ ลงมา รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญใน การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา คณะกรรมาธิการตุลาการ (Judicial Commission) เป็นผู้เ้สนอชื่อให้ DPR รับรอง จากนั้นจึงเสนอต่อ ให้ประธานาธิบดีเป็น ผู้แต่งตั้งสมาชิกคณะกรรมาธิการตุลาการแต่งตั้งและถอดถอนโดยประธานาธิบดี ด้วยความเห็นชอบของ DPR
7. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินสูงสุด (Supreme Audit Board : BPK) มีหน้าที่รายงานการใช้งบประมาณต่อ DPR, DPD และ DPRD สมาชิก BPK คัดเลือกโดย DPR โดยรับฟังความคิดเห็นของ DRD และ แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี
ประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 33 จังหวัด โดยเป็นเขตปกครองพิเศษ 5 จังหวัด คือ จาการ์ตา อาเจะห์ ยอกยาการ์ตา ปาปัว และ ปาปัวตะวันตก ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักอยู่ด้วย
การท่องเที่ยว
ประเทศอินโดนีเซียมีสถานสำคัญที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดาโลกทั้งหมด 7 แห่ง โดยมี มรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง คือ มหาสถูปบุโรพุทโธ วัดพรัมบานัน แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน และมรดกโลกทางธรรมชาติ 4 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน อุทยานแห่งชาติโคโมโด อุทยานแห่งชาติดโลเรนซ์ และมรดาป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา
มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (Borobudur Temple)

ศาสนสถานในศาสนาพุทธนิกายมหายานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นสถูปแบบมหายานทีสร้างด้วยหิน ภูเขาไฟ ที่มีฐานคล้ายกับพีระมิดขั้นบันไดที่มีการแกะสลักอย่างสวยงามในแต่ละชั้น ตั้งอยู่บนเนินดินธรรมชาติในภาคกลาง ของเกาะชวา ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. 2534
วัดพรัมบานัน (Prambanan Temple)

หรือที่คนอินโดนีเซียเรียกว่า วัดโลโร จองรัง (Loro Jongrang Temple) เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในเชตชวากลาง ตัววัดโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรม และความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งมีความสูงถึง 47 เมตร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. 2534
อุทยานแห่งชาติโคโมโด (Komodo National Park)

ประกอบด้วย 3 เกาะใหญ่ คือ เกาะโคโมโด เกาะริงกา และเกาะปาดาร์ รวมทั้งเกาะเล็กๆ อีกมากมาย โดยก่อตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์มังกรโคโมโด ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยเฉพาะในอินโดนีเซีย รวมทั้งสัตว์ป่าและสัตว์น้ำอื่นๆ ซึ่งบริเวณอุทยานฯ มีประชากร อาศัยอยู่ประมาณ 4000 คน และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. 2534
มรดกป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา (Tropical Rainforest Heritage of Sumatra)
ตั้งอยู่บนเกาะสุมาตรา มีเนื้อที่ 2.5 ล้านเฮกเตอร์ ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติกุนุงลูเซอร์ (Gunung Leuser) อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัต (Kerinci Seblat) และอุทยานแห่งชาติบูกิตบาริซานเซลาตัน (Bukit Barisan Selatan) พื้นที่แห่งนี้มีพืช และสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองจำนวนมาก รวมทั้งมีหลักฐานทางชีววิทยาที่แสดงวิวัฒนาการของเกาะ โดยขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. 2547
ความร่วมมือในกลุ่มประเทศสมาชิก
ประเทศอินโดนีเซียในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โต ได้มีนโยบายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยหันมารื้อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกมากขึ้น และมีความพยามยามในการร่วมมือในส่วนภูมิภาคมากขึ้น ดังเช่น การที่อินโดนีเซียประกาศยุติการเผชิญหน้ากับมาเลเซียด้วยหลัก การยุติปัญหาของชาวเอเชียโดยชาวเอเชียด้วยกันเอง (Asian Solutions for Asian Problems) อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางปี พ.ศ.2540-2541 อินโดนีเซียมีปัญหาภายในที่มีสภาวะการผลัดเปลี่ยนผู้นำ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้บทบาทในอาเซียนของอินโดนีเซียลดลงไป กระทั่งเริ่มมีบทบาทอย่างสำคัญในอาเซียนอีกครั้งหลังเกิดเหตุการณ์ตึกเวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์ถล่ม เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 โดยในช่วงระยะเวลา 1 ปี หลังเหตุการณ์ อินโดนีเซียได้มีบทบาทสำคัญในเวทีระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นประเทศที่ถูกเชื่อว่ามีฐานของกลุ่มผู้ก่อการร้ายอยู่ภายในประเทศ ทำให้อินโดนีเซียต้องแสดงบทบาทที่ชัดเจนเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย โดยได้ร่วมมือกับอาเซียนในการประกาศใช้ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านลัทธิการก่อการร้ายปี 2001 (2001 ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism) นอกจากนี้ยังได้เสนอเป็นผู้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการต่อสู้กับลัทธิการก่อการร้ายระหว่างประเทศอีกด้วย
ในด้านบทบาทการเป็นประธานอาเซียน ประเทศอินโดนีเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน 3 สมัยด้วยกัน กล่าวคือ
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2519 ที่เมืองบาหลี มีการประกาศปฏิญญาบาหลีฉบับที่ 1 หรือ Bali Concord I ซึ่งช่วยวางรากฐานสำคัญให้กับอาเซียน โดยเสนอวัตถุประสงค์และโครงสร้างของอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก และกำหนดให้มีการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา โดยมีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือ เพื่อยึดเป็นพื้นฐานในการแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติ
ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 7-8 ตุลาคม 2546 ที่เมืองบาหลี ในครั้งนี้อาเซียนได้ประกาศปฏิญญาบาหลีฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งกำหนดให้มี 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงและการเมือง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคม-วัฒนธรรม
ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 ที่เมืองบาหลีเช่นกัน อาเซียนมีแผนที่จะออกปฏิญญาบาหลีฉบับที่ 3 ซึ่งจะกำหนดบทบาทและทิศทางของประชาคมอาเซียนในเวทีโลกจะเห็นได้ว่าอินโดนีเซียมีบทบาทนำในอาเซียนมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน อินโดนีเซียมักจะนำเสนอแนวความคิดและโครงการใหม่ต่ออาเซียน
โดยในปี 2554 ที่อินโดนีเซียรับตำแหน่งประธานอาเซียน อินโดนีเซียได้มีความริเริ่มที่สำคัญ 4 ประการ
ประการแรก คือ การเสนอตัวเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเรื่องเขตแดนรอบปราสาทเขาพระวิหาร
ประการที่ 2 ความพยายามผลักดันให้พม่าเปิดกว้างทางด้านการเมืองมากขึ้น และเร่งปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ เพื่อให้พม่าก้าวทันโลกไปพร้อมกับประเทศอื่นในอาเซียน
ประการที่ 3 การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก มีสหรัฐอเมริกา และรัสเซียเข้าร่วมเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการสร้างระเบียบและสถาบันความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และวาระที่ชัดเจนมากขึ้น
ประการที่ 4 การริเริ่มการผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องเขตแดนในทะเลจีนใต้ จนเกิดปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้ เป็นการตอกย้ำบทบาทที่สำคัญที่สุดของอาเซียน ในการสร้างกฎระเบียบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ประเทศสมาชิก ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอาเซียน