การรำซาบิน (Zapin) :
เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธพลมาจาก ดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิง ชาย จำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบีน และ กลอง เล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว
เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) :
เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองอีกด้วย
![]() |
ชุดประจำชาติ หญิง : สวมเสื้อ "บาราจูกุง" ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาว ที่มีขนาดตัวยาวถึงเข่า หรือเสื้อ "คะบาย่า" ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวสีสันสดในและมีฉลุดอกไม้ ขนาดพอดีตัวปิดถึงสะโพก และนุ่งกับโสร่งที่มีลวดลายเข้ากับเสื้อ บางครั้งมีผ้ากคล้องคอ และสวมรองเท้าแตะ หรือร้องเท้าส้นสูงแบบสากล ชาย : สวมเสื้อแขนยาวแบบคอปิดติดกระดุม และนุ่งกางเกงขายาวสีเดียวกับเสื้อ ที่เรียกว่าชุด "บาจูมลายู" ซึ่งมีผ้าคาดทับเอว และสวมหมวกแบบมุสลิมี่เรียกว่า "ซอเกาะ" สวมรองเท้าหนังแบบสากล |
![]() |
อาหารประจำชาติ นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) : เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร พร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า |
![]() |
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกบุหงารายา (Bunga Raya) |
![]() |
มาเลเซียตะวันตก :
ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมาลายู ทิศเหนือติดกับไทย (506 กิโลเมตร) และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ มี 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ กลันตัน เประ ตรังกานู เกดะห์ ปีนัง และปะลิศ
ภูมิประเทศบนแหลมมลายู (มาเลเซียตะวันตก) เป็นหนองบึงตามชายฝั่งและพื้นดินจะสูงขึ้น เป็นลำดับ จนกลายเป็นแนวเขาด้านในของประเทศ โดยมีพื้นที่ราบอยู่ระหว่างแม่น้ำสายต่างๆ พื้นดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์นัก แต่เหมาะสำหรับปลูกยางพารา และต้นปาล์ม ด้านในของประเทศจะมีพืชพันธ์ุไม้นานาชนิดขึ้นตามบริเวณป่าดงดิบ โดยเฉพาะใน แถบภูเขาซึ่งมีความสูงระหว่าง 150-2,207 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีความยาวของชายฝั่งจากเหนือ (ติดชายแดนไทย) ถึง ปลายแหลมประมาณ 804 กิโลเมตร ทาง ชายฝั่งตะวันตกมีช่องแคบมะละกา แยกออกจากเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ความกว้างของแหลมส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 330 กิโลเมตร
มาเลเซียตะวันออก :
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือบนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) มีพรมแดนด้านใต้ ติดกับอินโดนีเซียทั้งหมด (1782 กิโลเมตร) และพรมแดนทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้และบรูไน (381 กิโลเมตร) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และ ซาราวัก
ภูมิประเทศบนเกาะบอร์เนียว (มาเลเซียตะวันออก) เป็นพื้นที่ราบตามชายฝั่งและมีภูเขา เรียงรายอยู่ด้านใน โดยมีความสูงตั้งแต่ 300-2,440 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทางตอนเหนือของเกาะเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำคัญ ความกว้าง จากชายฝั่งทะเลถึงอาณาเขตที่ติดกับกะลิมันตันของอินโดนีเซียประมาณ 270 กิโลเมตร และชายฝั่งยาว 1,120 กิโลเมตร ส่วนอาณาเขตที่ติดต่อกับกะลิมันตัน มีความยาว 1,450 กิโลเมตร
นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครอง อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมือหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
สภาพภูมิอากาศ
มาเลเซียมีภูมิอากาศร้อนชื้น และมีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28 องศาเซลเซียส น้ำฝนในซาบาห์กับซาราวัค (มาเลเซียตะวันออก) จะมากกว่าบนแหลมมลายู (มาเลเซียตะวันตก)
ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านตั้งแต่เดือน เมษายน-ตุลาคม และลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของมาเลเซียพึ่งพาการส่งออกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าอิเลคทรอนิคส์ ทำให้มาเลเซียได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวในปี 2544-2545 อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น เศรษฐกิจมาเลเซียก็ฟื้นตัว และเติบโตได้ดีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับการผลิตกลุ่มสินค้าอิเลคทรอนิคส์นี้ มาเลเซียยังต้องพึ่งพาการนำเข้าชิ้นส่วนเป็นจากภายนอกประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบ และชิ้นส่วนภายในประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิต
ถึงแม้การส่งออกหลักของมาเลเซียจะเป็นการส่งออกกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าอิเลคทรอนิคส์ แต่มาเลเซียก็ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งออกสินค้าเกษตรบางชนิด ในระดับชั้นนำของโลก ได้แก่ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ด้านทรัพยากรมาเลเซีย มีประมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และ ก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนั้นยังเป็นผู้ส่งออกดีบุกอันดับต้นๆของโลก
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว ปิโตรเลียม น้ำมันปาล์ม ยา
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง
สกุลเงิน : ริงกิต (Ringgit) ตัวย่อ MYR
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ริงกิต = 9.97 บาท
(ข้อมูล พฤษภาคม ปี 2556) : 2.99 ริงกิต = 1 ดอลลาร์สหรัฐ
จุดแข็ง
: รายได้เฉลี่ยของประชากรต่อคนต่อปีเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน
: มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย-แปซิฟิค
: ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร
: แรงงานมีทักษะ
จุดอ่อน
: จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานระดับล่าง
![]() |
![]() |
ธงชาติ |
ตราแผ่นดิน |
การปกครองเป็นแบบรัฐสภา (Parliament System) ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) ที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภา (Senate) ที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่ กับสภาผู้แทนราษฎรโครงสร้างการปกครองของมาเลเซียแบ่งเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่
1. ฝ่ายนิติบัญญัติ
ประกอบด้วย 2 สภาคือ วุฒิสภา หรือสภาสูง (Senate หรือ Dewan Negara)
จำนวน 70 ที่นั่ง มาจาก 2 ส่วนคือ ส่วนแรก มาจากการแต่งตั้ง โดยนายกรัฐมนตรี จำนวน 44 ที่นั่ง และส่วนที่สอง อีก 26 ที่นั่ง มาจาก การเลือกโดยสภานิติบัญญัติของทั้ง 13 รัฐ (State Legislatures) จำนวน รัฐละ 2 คน มีวาระ 6 ปี สำหรับสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative หรือ Dewan Rakyat) มาจากการเลือกตั้งเขตละ 1 คน รวม 219 คน มีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายที่รัฐบาลหรือวุฒิสภาเป็น ผู้เสนอ ระยะเวลาการ ดำรงตำแหน่ง 5 ปี
2. ฝ่ายบริหาร
ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหารตาม ระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ที่สมาชิกได้รับเลือกเข้า มาในสภามากสุด หรืออาจเป็นหัวหน้าพรรคที่เป็นแกนนำ ในสภาผู้แทนราษฎร โดยประมุขของประเทศจะเป็นผู้แต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัก
คณะรัฐมนตรี (Cabinet) เป็นกลุ่มผู้กำหนดนโยบายอันมีนายก รัฐมนตรีเป็นหัวหน้า นายกรัฐมนตรีจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามา ดำรงตำแหน่งในกระทรวงต่างๆ
3. ฝ่ายตุลาการ
อำนาจตุลาการใช้ระบบกฎหมายของอังกฤษคือ Common Law ยกเว้นศาสนาอิสลามอยู่ภายใต้ระบบสหพันธ์ ทำให้อำนาจตุลาการมีความอิสระมาก เพราะไม่ถูกควบคุมโดยฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ โดยแต่ละรัฐมีผู้ปกครองรัฐของตนเอง และมี 3 เขตที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ
เมืองปุตราจายา (Putrajaya)
เป็นเมืองราชการแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นจากความคิดริเริ่มของ ดร.มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเมืองนี้มีความโดดเด่นด้านความสวยงาม ทันสมัย ประกอบด้วย ทำเนียบรัฐบาล สถานที่ทางราชการ มัสยิด ศูนย์การค้า สนามกีฬา และที่อยู่อาศัย
เมืองมะละกา และจอร์จทาวน์ (Malacca and Georgetown)
ทั้งสองเมืองเป็นเมืองเก่าที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดาโลกทางวัฒนธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2551 เพราะทั้งสองเมืองนี้เป็นศูนย์กลางการค้าและการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ทำให้เกิดมรดาทางวัฒนธรรมที่หลากหลายที่เห็นได้จากสถาปันยกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น โบสถ์ จัตุรัสป้อมปราการ และอาคารบ้านเรือน
อุทยานแห่งชาติกีนาบาลู (Kinabalu National Park)
ตั้งอยู่บริเวณโดยรอบของภูเขากีนาบาลู ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนเกาะบอร์เนียว (มาเลเซียตะวันออก) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในปี พ.ศ. 2543 เพราะมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นแหล่งที่พบกล้วยไม้ และพืชกินแมลงหลายพันธ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ประจำถิ่นหลายชนิด
อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu National Park)
ตั้งอยู่ในรัฐซาราวัก บนเกาะบอร์เนียว (มาเลเซียตะวันออก) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรราชาติในปี พ.ศ. 2543 มีความโดดเด่นด้านชีววิทยาและธรณีวิทยา มีพันธ์พืชกว่า 3,500 ชนิด และมีภูมิประเทศแบบเทือกเขาหินปูน ซึ่งทำให้มีถ้ำ หน้าผา และทางน้ำใต้ดินที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ และมีถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ ถ้ำซาราวัก แชมเบอร์ (The Sarawak Chamber)
โดยในปี 2522 มูลค่าการค้ามาเลเซีย-อาเซียนได้เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า แสดงถึงนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ของมาเลเซียที่ได้ให้ความสำคัญกับประเทศในอาเซียนเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากความต้องการเป็นอิสระจากการพึ่งพาต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในปี 2534 มาเลเซียได้มีการปรับตัวเองขนานใหญ่ภายใต้แผนพัฒนาที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ 2020 หรือ Vision 2020 (ภาษามาเลย์ใช้คำว่า Wawasan 2020) เน้นปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในแบบของมาเลเซียให้ได้ในปี 2020 โดยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม และจากการทำงานตามวิสัยทัศน์ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มาเลเซียกำลังใกล้จะบรรลุผลและจะนับเป็นประเทศที่สองในอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์ที่จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและไปได้เร็วกว่าประเทศไทย
ในด้านบทบาทการเป็นประธานอาเซียน มาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 2 วันที่ 4-5 สิงหาคม พ.ศ.2520 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีการลงนามปฏิญญาของอาเซียน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ มั่นคง แข็งแรงและแข็งแกร่ง สามารถทำงานได้และมีความเป็นหนึ่งเดียว
และการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 11 วันที่ 12-14 ธันวาคม พ.ศ.2548 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ จนนำมาสู่ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ในเอเชียตะวันออก ปฏิญญาสถานการณ์ไข้หวัดนกในการป้องกัน ควบคุมและแก้ปัญหา รวมถึงการดำเนินการของโครงการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหพันธรัฐรัสเซีย 2005-2015 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตลอดจนร่วมวางข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียน เป็นต้น