อันเนื่องมาจากศาสนาประจำชาติของประเทศคือ ศาสนาพุทธ ชาวเมียนมาร์ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในชนชาติ ที่ยึดมั่นในคำสอนของศาสนาพุทธอย่างเหนียวแน่น มากที่สุดชาติหนึ่งในโลก จึงมีการสร้างเจดีย์ พระธาตุ และศาสนสถานทั่วทั้งประเทศ เช่น เจดีย์ชเวดากอง เจดีย์ชเวมอว์ดอว์ เป็นต้น และประเพณีที่สำคัญจึงมักเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ อาทิเช่น
ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long):
หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว
งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี :
ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษา ถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุนสนานและได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย
![]() |
ชุดประจำชาติ หญิง : สวมเสื้อข้างในเป็นคอกลม เอวสั้น โดยมีเสื้อนอกแขนกระบอกยาว ซึ่งนิยมใช้ผ้าเนื้อบางลายลูกไม้สีสดเข้ากับสีของ "ลองยี" หรือโสร่ง ที่ยาวจรดข้อเท้าที่ต้องเหน็บชายผ้าไว้ที่เอวให้แน่นโดยไม่ใช้เข็มขัด อาจมีผ้าบางคล้องไหล่และสวมรองเท้าแตะ ชาย : สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น ติดกระดุมป้ายมาดานข้างแบบจีนที่เรียกว่า "กุยตั๋ง" หรืออาจจะใส่เสื้อตัวยาวถึงสะโพก ติดกระดุมตรงกลางที่เรียกว่า "กุยเฮง" นุ่งโสร่งลองยี และมีผ้าแพรสีขาวหรือสีชมพูโพกศีรษะ และสวมรองเท้าแตะ |
![]() |
อาหารประจำชาติ หล่าเพ็ด (Laphet) : เป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงของไทย แต่เป็นใบชาหมัก ซึ่งต้องคลุกกินกับเครื่องเคียง เช่น มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง กระเทียมเจียว และถั่วชนิดต่างๆ |
![]() |
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกประดู่ (Padauk) |
![]() |
รูปพรรณสัณฐานของพื้นที่ประเทศ เหมือนกับว่าวที่มีหางยาวล้อมรอบเกือกม้าขนาดใหญ่ คือแนวเทือกเขามหึมา และ ภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ มียอดเขาสูงอยู่มากมายตามแนวเทือกเขาของ เมียนมาร์และมีหลายยอดที่สูงเกินกว่า 10,000 ฟุต ตามแนวชายแดนหิมาลัย ทางเหนือของเมียนมาร์ที่ติดกับธิเบต เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ฮากากาโบราซี โดยมีความสูง 19,314 ฟุต ต่ำลงมา จากแนวเขาเหล่านี้ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ภายในประเทศเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมี ที่ราบลุ่มบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเอยาวดี ที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวลงไปทาง ตอนใต้เป็นนาข้าวกว้างใหญ่ราวกับไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งสามารถสรุปอาณาเขตติดต่อ ได้ดังนี้
ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ : ติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร)
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ : ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร)
ทิศตะวันตก : ติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร)และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร)
ทิศใต้ : ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
สภาพภูมิอากาศ
เมียนมาร์มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ร้อน ฝน และหนาว ซึ่ง สภาพอากาศจะแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ
บริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลาง และตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้ง และร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก
บริเวณตามชายฝั่งทะเลและ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลาง หรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน
ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก
ด้านเกษตรกรรม ถือว่าเป็นอาชีพหลักของชาวเมียนมาร์ เขตเกษตรกรรม คือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเอยาวดี และแม่น้ำสะโตง โดยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจ้า อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่นๆ
ด้านการทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมือง ดีบุก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตาม แม่น้ำเอยาวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง
ด้านอุตสาหกรรม กำลังมีการพัฒนาอยู่บริเวณตอนล่างของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมโดยทั่วไปนั้นยังอยู่ในขั้นพัฒนา เช่นอุตสาหกรรมต่อเรืออยู่บริเวณเมืองย่างกุ้ง มะริด และทวาย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ อัญมณี ป่าไม้ แร่ธาตุ (ดีบุก) และน้ำมัน
จากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยทหาร รัฐบาลทหารได้นำเมียนมาร์ไปสู่ระบบเศรษฐกิจเสรี และแม้ต่อมาจะได้จัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ก็ยังคงยึดนโยบายเช่นเดิม คือ อนุญาตให้ ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิต และการจัดการ รวมทั้งได้เปิดประเทศ ให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น แต่มีอัตราการขยายตัวไม่แน่นอน เพราะเศรษฐกิจของเมียนมาร์ ต้องพึ่งพาสินค้าเกษตรเพียงไม่กี่ชนิด หากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ หรือสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน ก็จะส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำ นอกจากนั้น อุปสรรคที่ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่แน่นอน ยังเกิดจากการขาดแคลนไฟฟ้าและสาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐาน ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ในระบบและนอกระบบ เป็นต้น
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรมสินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน สิงคโปร์ ไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ไทย อินเดีย จีน
สกุลเงิน : จ๊าต (Kyat) ตัวย่อ MMK
อัตราแลกเปลี่ยน : 30 จ๊าต = 1 บาท
(ข้อมูล พฤษภาคม ปี 2556) : 899 จ๊าต = 1 ดอลลาร์สหรัฐ
จุดแข็ง
: มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก
: มีพรมแดนเชื่อมโยงกับจีนและอินเดียที่ถือเป็นตลาดใหญ่มากของโลก
: ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ ข้อมูลปี 55 (2.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หรือประมาณวันละ 75 บาท)
จุดอ่อน
: ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
: ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย
![]() |
![]() |
ธงชาติ |
ตราแผ่นดิน |
อย่างไรก็ตาม เมียนมาร์์มีความพยายาม ที่จะดำเนินการ ให้ประเทศก้าวไปสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในเร็ววัน ซึ่งนับว่าเป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ดังจะเห็นว่า พลเอกขิ่น ยุ้น นายกรัฐมนตรีของประเทศในขณะนั้นได้ประกาศ นโยบายการดำเนินการไปสู่ กระบวนการปรองดองแห่งชาติและประชาธิปไตย (Roadmap towards Democracy) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2546
ถึงแม้เมียนมาร์จะได้ัจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ย. 2553 ตามระบอบประชาธิปไตยทั่วไป แต่กระนั้นก็ดี กระบวนการประชาธิปไตยของเมียนมาร์ดังกล่าวนี้ กลับไม่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ ทั้งนี้เนื่องจาก คณะรัฐบาลทหารของเมียนมาร์ยังไม่ได้ลงจากอำนาจอย่างแท้จริง เป็นเพียง การเปลี่ยนแปลงสถานภาพจากรัฐบาลทหาร มาเป็นรัฐบาลพลเรือนโดยคณะ ผู้บริหารระดับสูง ยังคงเป็นนายทหารนอกราชการนั่นเอง
เมียนมาร์แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ ตามกลุ่มเชื้อชาติที่เป็น ชนกลุ่มใหญ่ในแต่ละรัฐ (รัฐชิน รัฐกะฉิ่น รัฐกะเหรี่ยง รัฐกะยา รัฐมอญ รัฐยะไข่ และรัฐชาน)
และแบ่งเป็น 7 ภาค ได้แก่ อิรวดี พะโค มาเกว มัณฑะเลย์ สะกาย ตะนาวศรี (นานินตายี) และ ย่างกุ้ง ในเขตพื้นที่ราบลุ่มที่ประชากรเชื้อสายเมียนมาร์อาศัยเป็นส่วนใหญ่
พระมหามัยมุนี แห่งมัณฑะเลย์ (The Mahamuni Buddha, Mandalay)
เป็นพระพุทธรูปสำริด ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ปางมารวิชัย สร้างขึ้นในราวพุทธศักราช 688 เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่ง มีตำนานเล่ากันว่า พระพุทธเจ้าทรงประทานลมหายใจให้พระมหามัยมุนี เพื่อเป็นตัวแทนสืบทอดพระศาสนา และชาวเมียนมาร์ก็เชื่อเช่นนั้น จึงต้องมีพิธีล้างพระพักตร์ให้ทุกเช้า
พระธาตุอินทร์แขวน ไจ้ก์ทิโย เมืองไจ้ก์โถ่ รัฐมอญ (Golden Rock-Kyaikhtiyo, Kyaikhtiyo, Mon)
ไจ้ก์ทิโย ในภาษามอญหมายถึง หินรูปหัวฤาษี พระธาตุอินทร์แขวนนี้ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงกว่า 1,200 เมตร มีลักษณะเป็นก้อนหินสีทองขนาด 5.5 เมตร มองดูคล้ายก้อนหินตั้งอยู่หมิ่นเหม่ใกล้จะตกลงมาเต็มที่ เป็นที่มาของนิทานพื้นบ้านเรื่องเจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน นอกจากนี้ก็ยังมีความเชื่อกันว่าผู้ที่มากราบไหว้ จะสามารถสั่งสมบารมีไปเกิดร่วมยุคพระศรีอาริยเมตตรัย และยังเป็นพระธาตุประจำปีจออีกด้วย
เจดีย์ชเวมอร์ดอร์ หรือพระธาตุมุเตา เมืองหงสาวดี (Shwemawdaw Pagoda, Bago)
เป็นเจดีย์ที่ได้อิทธิพลจากศิลปะมอญ เชื่อกันว่ามหาเจดีย์แห่งนี้ เป็นที่บรรจุบรรจุพระเกศาธาตุ 2 เส้นของพระพุทธเจ้า มีอายุกว่า 2000 ปี เป็นที่เคารพสักการะของทั้งกษัตริย์ มอญ เมียนมาร์ และไทย เช่น พระเจ้าราชาธิราชของมอญ พระเจ้าบุเรงนองของเมียนมาร์ และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทย ภายในบริเวณพระมหาเจดีย์ ยังมีพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก จัดแสดงวัตถุโบราณอีกด้วย
ในระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.25052531 ประเทศเมียนมาร์มีนโยบายต่างประเทศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น นโยบายโดดเดี่ยวตัวเอง (Isolationism) และปกครองประเทศภายใต้เผด็จการทหาร กระทั่งเกิดความวุ่นวายภายในเมียนมาร์ในปี 2531 ทำให้เมียนมาร์หันมาปรับใช้นโยบายเปิดประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการออกกฎหมายการลงทุนต่างชาติ และติดต่อคบค้ากับประเทศในภูมิภาคมากขึ้น เช่น ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังเปิดสัมพันธ์ต่อประเทศสังคมนิยมทั้งเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ในขณะที่ด้านการเมืองภายในยังคงปิดกั้นไม่ให้ต่างชาติเข้าแทรกแซง ท่ามกลางสถานการณ์ที่หลายประเทศกดดันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์ ซึ่งมีการเข่นฆ่า สังหาร คุกคาม ข่มขืนประชาชนและชนกลุ่มน้อยโดยทหารเมียนมาร์มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการกดขี่และผูกขาดทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานด้านต่างๆ
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เมียนมาร์ได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน รัฐบาลเมียนมาร์ได้มีท่าทีอ่อนลง โดยยอมให้มีการหารือกับชนกลุ่มน้อยและพรรคฝ่ายค้าน เพื่อหวังที่จะปรับปรุงภาพลักษณ์ของรัฐบาลให้ดีขึ้น และนำไปสู่การประนีประนอมทางการเมืองภายในประเทศ จึงมีการยุบ SLORC และได้จัดตั้งสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council : SPDC) ขึ้นแทน แต่ในปี พ.ศ.2550 รัฐบาลเมียนมาร์ก็ได้ได้ปราบปรามการชุมนุมของพระภิกษุสงฆ์และประชาชนในกรุงย่างกุ้ง ที่ออกมาชุมนุมนับแสนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาร์ลดราคาน้ำมัน ปล่อยนักโทษการเมือง ให้ฝ่ายทหารผู้ปกครองประเทศตั้งคณะสมานฉันท์เพื่อความปรองดองแห่งชาติ โดยในเหตุการณ์ปราบปรามในครั้งนั้น มีประชาชนเสียชีวิตหลายร้อยคน สิ่งเหล่านี้ ถือเป็นความกังวลใจของอาเซียน เพราะเมียนมาร์ได้ทำให้ปัญหาที่เมียนมาร์มีกับประชาคมโลกกลายเป็นปัญหาของอาเซียนมากกว่าปัญหาของเมียนมาร์โดยตรง
ด้านบทบาทการเป็นประธานอาเซียน ในปี พ.ศ.2549 ประเทศเมียนมาร์ได้ถูกกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปให้ถอนตัวจากการเป็นประธานอาเซียน เนื่องจากมีการต่อต้านและวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในเมียนมาร์ จนท้ายที่สุดประเทศเมียนมาร์ต้องยอมถอนตัวจากประธานอาเซียนในครั้งนั้น และไม่ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน ประจำปี 2549 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในเมียนมาร์เริ่มคลี่คลายมากขึ้น หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมาร์ในปี พ.ศ.2553 ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ของเมียนมาร์ โดยถือเป็นจุดสิ้นสุดรัฐบาลเผด็จการทหารและได้รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ อีกทั้งเมียนมาร์ยังมีการปล่อยนักโทษการเมือง และแสดงท่าทีในการสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในเมียนมาร์ เป็นผลทำให้สถานะของเมียนมาร์ในสายตาของประชาคมโลกดีขึ้น จนทำให้นายนูซาดัว คณะรัฐมนตรีชาติสมาชิกอาเซียน ประกาศว่าอาเซียนจะรับรองเมียนมาร์ในการเป็นประธานสมาคมอาเซียน ประจำปี 2557 ถือเป็นแรงสนับสนุนให้กับรัฐบาลใหม่ของเมียนมาร์ หลังพยายามปฏิรูปประเทศในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้ง นายอานิฟะห์ อามาน รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย ยังได้กล่าวต่อผู้สื่อข่าวในการประชุมอาเซียนที่เกาะบาหลีว่า บรรดาประเทศสมาชิกต่างเห็นตรงกันว่าจะให้เมียนมาร์เป็นประธานอาเซียนปี 2557 หลังจากที่เมียนมาร์ดำเนินแนวทางอย่างสร้างสรรค์ในการปฏิรูปประชาธิปไตย และควรสนับสนุนด้วยการให้เมียนมาร์ได้เป็นประธานอาเซียน