สาธารณรัฐสิงคโปร์
Republic of Singapore
   กรุณาเลือกหัวข้อย่อย เพื่อแสดงเนื้อหาในแต่ละเรื่อง มี 6 หัวข้อ ที่แถบเมนูนี้    
วัฒนธรรม
     จากโครงสร้างประชากร จะเห็นได้ว่าคนสิงคโปร์มีหลายเชื้อชาติ อีกทั้ง ส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และ ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชา เจ้าแม่กวนอิม-ธิดา แห่งความสุข กวนอู-เทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ ขณะที่ ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น

     ชาวสิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลายแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ เทศกาลสำคัญของสิงคโปร์ ส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทาง ศาสนา แต่ถึงจะแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติและศาสนา แต่วัฒนธรรมความเป็นอยู่ก็ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน โดยเทศกาลสำคัญส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา รวมถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้า เช่น

เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้าและงานรื่นเริงสนุกสนานอื่นๆ โดยรัฐบาล ห้างร้าน และบริษัทต่างๆ จะหยุดทำการเป็นเวลา 2 วัน แต่บางแห่ง อาจหยุดนานถึง 15 วัน

เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขน
เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
เทศกาล Hari Raya Puasa ในเดือนตุลาคม เป็น การเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมหลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอดหรือรอมฎอน (Ramadan)
เทศกาล Deepavali ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็น งานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูในสิงคโปร์
ชุดประจำชาติ
     หญิง : สวมเสื้อและผ้าถุงพิมพ์ลาย สีสันสดใส
     ชาย : สวมสูทสากล

อาหารประจำชาติ
     ลักซา เลอมัก (Luksa Lermak) : เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ คล้ายๆข้าวซอยของไทย
ดอกไม้ประจำชาติ : กล้วยไม้แวนด้า มิส โจควิม (Vanda Miss Joaquim)

ภูมิประเทศ
     มีพื้นที่ประมาณ 697 ตารางกิโลเมตร (มีขนาดประมาณเท่ากับเกาะภูเก็ตของไทย) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ซึ่งเป็นตำแหน่งยุทธศาสตร์ โดยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางเรือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิงคโปร์ ประกอบด้วย เกาะใหญ่ 1 เกาะ (เกาะสิงคโปร์) และเกาะขนาดเล็กอีกกว่า 60 เกาะ

ทิศเหนือ ติดกับประเทศมาเลเซีย - Jahor Baru
ทิศใต้ ติดกับช่องแคบมะละกา
ทิศตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้
ทิศตะวันตก ติดกับมาเลเซีย

     ลักษณะภูมิประเทศ ภาคกลางและ ภาคตะวันตกเป็นเนินเขา ซึ่งเนินเขาทางภาคกลาง เป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของประเทศ (165 เมตร) เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของสิงคโปร์ พื้นที่ทางภาคตะวันออกเป็นทีราบต่ำ มีพื้นที่บริเวณชายฝั่งเว้าแหว่งเหมาะที่จะเป็น ท่าเรือ

สภาพภูมิอากาศ
     สภาพภูมิอากาศ สิงคโปร์อยู่ในเขตมรสุมทำให้มีอากาศอบอุ่นเกือบตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25 – 32 องศา เซลเซียส แบ่งเป็น 4 ฤดู คือ

1. ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (North-East Monsoon Season) ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงอากาศหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23 - 26 องศา เซลเซี ยส โดยอากาศจะเย็ นที่ สุ ดในเดื อนธั นวาคม มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 20 องศา เซลเซียส ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ จะมีฝนหนักและลมแรงจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

2. ฤดูก่อนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (Pre South-West Monsoon) ระหว่าง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นช่วงอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 31 - 34 องศา เซลเซียส อากาศจะร้อนที่สุดในเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิสูงสุดราว 36 องศา เซลเซียส

3. ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (South-West Monsoon Season) ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน มีฝนตกหนักและลมแรงจากอิทธิพลของมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้

4. ฤดูก่อนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (Pre North-East Monsoon) ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม เป็นช่วงที่มีอากาศอบอุ่น และไม่มีฝนมากนัก

เศรษฐกิจ
     สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นที่จำกัด และมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอยู่น้อย แต่ด้วยความที่ได้เปรียบในด้านตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ ทำให้สิงคโปร์เป็นผู้กลั่นน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา

     รายได้หลักของสิงคโปร์มาจากการส่งออกน้ำมันและผลิตภัณฑ์ คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าถึง 26% ของมูลค่าสินค้าส่งออกที่ผลิตในประเทศ รองลงมาคือเคมีภัณฑ์ ประมาณ 19.6% และ เครื่องใช้ไฟฟ้า 19.20%

     สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดเสรีทางการค้า มีความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ และมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงเท่าๆ กับประเทศใหญ่ 4 ประเทศในกลุ่ม EU สิงคโปร์ เป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกสูง มีสัดส่วนของมูลค่าการค้าต่อ GDP สูงที่สุดในโลกคือ 3:1 ในช่วงปี 2545-2546 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกถดถอย เกิดปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง การก่อการร้าย และปัญหาการระบาดโรคซาร์ ทำให้เศรษฐกิจสิงโปร์เติบโตเพียงเล็กน้อยคือ 2.2 และ 1.1 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

     อย่างไรก็ดีตั้งแต่ปี 2547 จนกระทั่งปัจจุบัน เศรษฐกิจสิงคโปร์ เติบโตอย่างเกินเป้าหมาย ทั้งนี้เป็นผลมาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยต่ำ และการส่งออกที่ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์โดยรวม (ทั้งภายในและภายนอกประเทศ) ซึ่งขยายตัวในอัตรา ระดับสูง และส่วนหนึ่งเกิดจากโครงการใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ เช่น โครงการ Integrated Resort at Marina South ซึ่งเป็นโครงการมูลค่าหลายพันล้านสิงคโปร์ดอลล่าร์ด้านปิโตรเคมีของบริษัทเชลล์

สินค้านำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ อาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวันไทย
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย

สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ ตัวย่อ SGD (Singapore Dollar)
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ = 24.06 บาท
(ข้อมูล พฤษภาคม ปี 2556) : 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ = 0.80 ดอลลาร์สหรัฐ

จุดแข็ง
: รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดในอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก
: การเมืองมีเสถียรภาพ
: เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ
: แรงงานมีทักษะสูง
: ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลและธุรกิจ
: มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ
จุดอ่อน
: พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
: ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง

การปกครอง
ธงชาติ
ตราแผ่นดิน

     สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด (The Constitution) แบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. สภาบริหาร (The Executive)
     ประกอบด้วยประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่บริหารประเทศผ่านกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานในสังกัดราชการอื่นๆ ประธานาธิบดีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงจากประชาชน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ โทนี ตัน เค็ง ยัม

     คณะรัฐมนตรีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี พรรคการเมืองสำคัญ 4 พรรค ได้แก่
     1. People’s Action Party (PAP) ของนายลี เซียน ลุง (Mr. Lee Hsien Loong) ก่อตั้งในปี 2497 จัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศด้วยความ มั่นคงมาตลอด

     2. Worker’s Party (WP) ก่อตั้งขึ้นในปี 2500 ปัจจุบันมีนาย Low Thia Kiang เป็นหัวหน้าพรรค

     3. พรรค Singapore Democratic Party (SDP) ก่อตั้งในปี 2523 ภายใต้การนำของนาย Chee Soo Juan

     4. พรรค Singapore Democratic Alliance (SDA) ก่อตั้งเมื่อปี 2544 จากการรวม พรรคเล็กหลายพรรค ปัจจุบันมีนาย Chiam See Tong เป็นหัวหน้าพรรค

2. รัฐสภา (Parliament)
     มาจากการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 มีสมาชิกสภาผู้แทนรวม 87 คน แบ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลรวม 81 คน มาจากพรรค People’s Action Party(PAP) และฝ่ายค้านมี 6 คน มาจากพรรค Worker’s Party (WP)

3. สภาตุลาการ (The Judiciary)
     แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น (Subordinate Courts) และศาลฎีกา (Supreme Court)

การท่องเที่ยว
สวนนกจูร่ง (Jurong Bird Park)      เป็นสวนนกที่รวบรวมนกนานาชนิดไว้มากมาย และถือได้ว่าเป็นสวนนกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่รวม 126 ไร่

อาคารโรงละครเอสพลานาด (Esplanade)
     หรือโรงละครบนหาดทราย สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับแสดงศิลปะทุกแขนง

รูปปั้นเมอร์ไลออน (Merlion) หรือสิงโตทะเล
     เป็นรูปปั้นสัญลักษณ์ของสิงคโปร์ โดยมีหัวเป็นสิงโต มีตัวเป็นปลา สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการ ท่องเที่ยวของสิงคโปร (Singapore Tourism Board) แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นเครื่องหมายประจำชาติของสิงคโปรไปแล้ว

ความร่วมมือในกลุ่มประเทศสมาชิก
     ในระยะ 20 ปีแรกของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อพิจารณาประเด็นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์เป็นประเทศสมาชิกในอาเซียนที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมทันสมัยล่ำหน้าประเทศสมาชิกอื่นๆ โดยมีโรงกลั่นน้ำมันและมีเทคโนโลยีก้าวหน้า ระบบเศรษฐกิจของสิงคโปร์ที่เจริญกว่าประเทศอื่น สะท้อนได้จากในขณะที่เพื่อนสมาชิกอาเซียนพยายามพัฒนาเพื่อเป็นประเทศอุตสาหกรรม แต่สิงคโปร์ได้ก้าวไปในระยะการพัฒนาหลังการเป็นประเทศอุตสาหกรรม และกำลังก้าวสู่ขั้นเทคโนโลยีชั้นสูง ทั้งทางอุตสาหกรรมและด้านบริการ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ พยายามดูแลแรงงานไม่ให้ว่างงาน แต่สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในขณะนั้นที่จ้างคนงานต่างประเทศที่มีทักษะต่ำเข้ามาทำงานในประเทศ เนื่องจากสิงคโปร์มีโครงสร้างทางการขนส่งคมนาคม และมีรากฐานทางการศึกษาที่อังกฤษปูทางไว้ค่อนข้างดี สิ่งเหล่านี้ช่วยให้สิงคโปร์เน้นการอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล และไม่ต้องพึ่งพาแรงงานคนมากนัก ประกอบกับการเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก ทำให้สิงคโปร์สามารถรับวัตถุดิบมาผลิตและส่งออกได้อย่างรวดเร็ว และมีรายได้หลักจากการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสิงคโปร์ ดังจะสังเกตได้ว่าการปรับนโยบายต่างประเทศของสิงคโปร์แต่ละครั้งล้วนมีเหตุมาจากภาวะกดดันทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เช่น ในปี พ.ศ.2514 สิงคโปร์ถูกนานาชาติโจมตีว่าเอารัดเอาเปรียบทางการค้าและถูกต่อต้านจากรอบด้าน ทำให้สิงคโปร์หันมากระชับความร่วมมือกับอาเซียน

     ด้านความสัมพันธ์กับอาเซียนในระยะแรกเริ่ม สิงคโปร์ได้ละเลยและไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าและยังติดอยู่กับมหาอำนาจโดยเฉพาะเมืองแม่สมัยอาณานิคม ซึ่งยังไม่พร้อมกับการพัฒนาในหลายๆ ด้าน ส่งผลให้สิงคโปร์ถูกตอบโต้จากบรรดาประเทศสมาชิก เช่น อินโดนีเซียเร่งสร้างโรงกลั่นน้ำมั่นเพื่อไม่ต้องส่งน้ำมันไปกลั่นที่สิงคโปร์ รวมถึงไทยและมาเลเซียต่างเร่งขยายโรงกลั่นภายในประเทศ ส่งผลให้รายได้ของโรงกลั่นในสิงคโปร์ลดลง ในทางกลับกัน ในมุมมองของบทบาทของสิงคโปร์ในด้านความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคงในอดีตที่ผ่านมา สิงคโปร์ได้ให้ความร่วมมือกับอาเซียนอย่างเข้มแข็ง โดยตระหนักถึงความอยู่รอดของประเทศที่ขึ้นอยู่กับความอยู่รอดของประเทศสมาชิกอื่นๆ ดังจะเห็นได้จากเมื่อครั้งที่เวียดนามรุกรานกัมพูชา สิงคโปร์ได้ให้ความร่วมมือกับอาเซียนอย่างเต็มที่ต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของประเทศเล็กจากการแทรกแซงของมหาอำนาจหลักการของสหประชาชาติและตามกฎหมายระหว่างประเทศ

     ในระยะต่อมา สิงคโปร์ได้แสดงบทบาทในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนถึง 2 สมัย โดยทำหน้าที่ในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 วันที่ 27-29 มกราคม 2535 และครั้งที่ 13 วันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2550 ทั้งยังมีท่าทีและนโยบายของรัฐบาลที่เริ่มหันสู่ความต้องการที่จะเติบโตไปพร้อมกับอาเซียน โดยในฐานะประธานอาเซียนในปี 2550 ได้ผลักดันให้พม่าเปิดประตูเพื่อรับความช่วยเหลือและข้อเสนอใหม่จากประเทศสมาชิกอาเซียนและสหประชาชาติมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเหลือพม่าที่ประสพภัยจากพายุไซโคลนนากิส และประสานงานกับพม่าได้ดีในฐานะประธานอาเซียน ยิ่งกว่านั้น สิงคโปร์ยังแสดงความต้องการที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับพม่ายิ่งขึ้นหลังจากเศรษฐกิจและการเมืองของพม่าได้รับการปฏิรูปมากขึ้น โดยสิงคโปร์ไม่ได้มีการกำหนดเส้นทางและตั้งข้อแม้กับพม่าเพื่อผลักดันให้พม่าปฏิรูปก่อนการเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานอาเซียนของพม่าในปี 2557 เนื่องจากต้องคงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในฐานะประธานอาเซียน สะท้อนได้ถึงบทบาทของสิงคโปร์ในเวทีอาเซียนที่ยังคงไม่แทรกแซงเรื่องภายในตามแนวทางอาเซียน ขณะเดียวกันสิงคโปร์ก็ได้แสดงจุดยืนต่อการปฏิรูปในพม่าที่เป็นไปตามดุลยพินิจของพม่าเอง นอกจากนี้ ในปลายเดือนพฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมาผู้นำสิงคโปร์ นายลี เซียน ลุง ยังได้ร่วมหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนในประเด็นการร่วมกันแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้ที่จีนถือเป็นคู่พิพาทใน 2 หมู่เกาะสำคัญในทะเลจีนใต้ ได้แก่ หมู่เกาะ Spratlys ที่เป็นความจัดแย้งระหว่างจีนกับอาเซียนทั้ง 4 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม และหมู่เกาะ Paracel ที่เป็นความขัดแย้งกับเวียดนาม โดยเห็นว่าควรยึดถือตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและคำประกาศขององค์การสหประชาชาติในปี 1982