ยินดีต้อนรับสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ASEAN Economic Community ( AEC )
     AEC ย่อมาจาก ASEAN Economic Community เป็นส่วนหนึ่งของกฏบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงของประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนหรือที่เรียกว่า ASEAN Community โดยจุดประสงค์หลักของ AEC คือเพื่อที่ประเทศสมาชิกจะได้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยจะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone (ยูโรโซน) การรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนจะทำให้มีอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าอันหมายถึงประเทศอื่นๆ นอกอาเซียนได้มากขึ้นและส่งเสริมให้การนำเข้าและส่งออกของชาติในอาเซียนเสรีมากขึ้น
     ปัจจุบันอาเซียนมีจำนวนประเทศ 10 ประเทศ ประชากรเกือบ 500 ล้านคน ดังนั้นถือว่าเป็นเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ จึงควรร่วมมือกัน เพื่อทำให้อาเซียนมีความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เหตุนี้เอง อาเซียนจึงกลายสภาพเป็น เออีซี ในที่สุด โดยจะก่อตั้งเออีซีอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2558 เลื่อนเข้ามาจากเดิมคือ พ.ศ. 2563 ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก แต่ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับ AEC เราควรรู้จักกับอาเซียนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ในหัวข้อ อาเซียน   ประชาคมอาเซียน   และ กฎบัตรอาเซียน ในหัวข้อถัดไป
รู้จักกับ AEC

อาเซียน

    อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

ดูรายละเอียด

ประชาคมอาเซียน

     การจัดตั้งประชาคมอาเซียน จะทำให้ประเทศในกลุ่มสมาชิก ทั้ง 10 ประเทศ เกิดความร่วมมือกันเพื่อสร้างความเข็มแข็งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยวางแผนที่จะดำเนินการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) กำหนดประชาคมหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจหลักในการร่วมมือกันพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก โดยมี 3 ประชาคมหลัก หรือที่เรียกกันว่า เสาหลักอาเซียน
ดูรายละเอียด

กฎบัตรอาเซียน

    ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
ดูรายละเอียด

ประมวลภาพอาเซียน

«
  • สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)

  • บรูไนดารุสซาลาม - มัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน

  • บรูไนดารุสซาลาม - พระราชวังอิสนาตานา นูรัล อีมาน

  • บรูไนดารุสซาลาม - กัมปงไอเยอร์

  • ราชอาณาจักรกัมพูชา - นครวัด

  • ราชอาณาจักรกัมพูชา - นครธม

  • ราชอาณาจักรกัมพูชา - ทะเลสาบโตนเลสาบ

  • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย - มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ

  • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย - วัดพรัมบานัน

  • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย - อุทยานแห่งชาติโคโมโด

  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - พระธาตุหลวง

  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - เมืองหลวงพระบาง

  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สี่พันดอน

  • สหพันธรัฐมาเลเซีย - เปโตรนาส ทาวเวอร์

  • สหพันธรัฐมาเลเซีย - เมืองมะละกา และจอร์จทาวน์

  • สหพันธรัฐมาเลเซีย - เมืองปุตราจายา

  • สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ - เจดีย์ชเวดากอง

  • สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ - พระธาตุอินทร์แขวน

  • สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ - พระมหามัยมุนี

  • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ - อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ

  • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ - โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์

  • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ - นาข้าวขั้นบันไดบานัว

  • สาธารณรัฐสิงคโปร์ - สวนนกจูร่ง

  • สาธารณรัฐสิงคโปร์ - อาคารโรงละครเอสพลานาด

  • สาธารณรัฐสิงคโปร์ - รูปปั้นเมอร์ไลออน

  • ราชอาณาจักรไทย - วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว

  • ราชอาณาจักรไทย - ป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่

  • ราชอาณาจักรไทย - แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

  • สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - หมู่โบราณสถานเมืองเว้

  • สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - อ่าวฮาลอง

  • สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - สุสานโฮจิมินห์

»